บ้านป้องกัน แผ่นดินไหว

thumbnail

วิธีการแต่งบ้านของคุณ  สำหรับเตรียมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คุณไม่อาจคาดคิด

 

http://propertybytes.indiaproperty.com/Images/Nov06/Resistant%202.jpg

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว  คุณควรเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย อย่าวางของไว้บนที่สูง หรือหากจำเป็นควรใช้อุปกรณ์ผูกยึดไว้ให้เรียบร้อย   เมื่อเกิดแผ่นดินไหว  ถ้าอยู่ในอาคาร ให้อยู่ในบริเวณโครงสร้างที่แข็งแรง หมอบลงกับพื้น หาที่หลบใต้โต๊ะหรือเฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแรง จับให้แน่นและอยู่ตรงนั้นจนกว่าแผ่นดินจะหยุดสั่นสะเทือนจึงออกจากอาคาร อยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง ระเบียง เตาแก๊ส เตาอบ เฟอร์นิเจอร์หนักๆ หรือของที่จะตกหล่นใส่  อาคารสูงจะล้มหรือพังทลายช้ากว่าอาคารเตี้ย (เนื่องจากมีคาบของการสั่นหรือแกว่งนานกว่า) ให้หมอบหลบใต้โต๊ะจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง สำหรับอาคารสูง 2 ชั้นอาจล้มพังได้ในเวลา 2 นาที จึงต้องรีบพาตัวเองออกจากอาคารโดยเร็วที่สุด   ถ้าอยู่นอกอาคาร ให้อยู่ในที่โล่ง ห่างจากตึก อาคารสูง เสาไฟ สายไฟ หรืออะไรที่อาจล้มใส่ได้

 

ตัวอย่างการสร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น

 

สถาปนิก Makoto Takei และ Chie Nabeshima ได้สร้างบ้านที่เรียกว่า “Rahmen”  โดยโครงบ้านฝังตัวอยู่ในแผ่นคอนกรีตและประกอบด้วยเสาไม้จำนวนมากซึ่งทำ หน้าที่พยุง “วงแหวน” ไม้ซีดาร์ขนาดต่างๆ ที่มีถึง 10 วง และติดตั้งห่างกันเป็นระยะ แต่ละระยะก็จะติดกระจก ที่ทำหน้าที่เป็นผนังอาคารไปในตัว    เพราะภูมิภาคแถบนี้อยู่ในแนวแผ่นดิน ไหวซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก จึงต้องออกแบบให้เสาและคานไม้เชื่อมต่อกับวงแหวนที่มีความยืดหยุ่นสูงกลาย เป็นโครงสร้างแข็งแรงคือ สามารถโค้งงอและแกว่งไกวในลักษณะคล้ายๆ กับการแกว่งไกวของต้นไม้ยามต้องแรงลมที่พัดกระโชกแรงๆ

ลักษณะเด่นของโครงสร้างแบบ “Rahmen” คือ ไม่จำเป็นต้องมีการยึดตรึงจากภายใน และไม่ต้องติดตั้งแผงป้องกันแผ่นดินไหวไว้ที่ด้านหน้าของตัวบ้าน  ทำให้สถาปนิกสามารถ ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายในตัวบ้านขนาด 34 ตารางเมตรได้เต็มที่ เพราะจะไม่มีเสาบ้านเกะกะกีดขวาง และสามารถติดกระจกบานมหึมาได้ด้วย

ตัวอย่างการสร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหวในประเทศไทย

 

นายนวพล สังเวียนวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลเฮ้าส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทออกแบบบ้านนิรภัยให้มีคุณสมบัติต้านภัยแผ่นดินไหว โดยเป็นบ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก ต่างจากบ้านทั่วไปที่ใช้เสาคานรับน้ำหนัก และโครงสร้างส่วนใหญ่ทำจากก้อนอิฐ จึงเสี่ยงต่อการพังทลายสูง เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว    นอกจากตัวบ้านจะรับมือแผ่นดินไหวได้แล้ว กำแพงด้านในยังเสริมฉนวนกันความร้อนจากพลาสติกโพลิสไตร์ลิน เพื่อป้องกันเสียง ความชื้นและความร้อนจากภายนอก ช่วยประหยัดพลังงานได้ 60% เมื่อเทียบกับบ้านทั่วไป โดยค่าก่อสร้างบ้านนิรภัยประมาณ 13,000 บาทต่อตารางเมตร ไม่ต่างจากต้นทุนบ้านทั่วไป

“แม้ค่าใช้จ่ายด้าน โครงสร้างจะเพิ่มขึ้น 7-10% แต่เมื่อรวมกับระยะเวลาการก่อสร้างที่สั้นกว่า ทำให้ราคาไม่ต่างกันมาก” นายนวพล กล่าว

รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) กล่าวว่า เอไอทีร่วมทดสอบบ้านนิรภัยของบริษัทคูลเฮ้าส์ เพื่อยืนยันประสิทธิภาพการต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และยืนยันได้ว่าบ้านที่ออกแบบใหม่นี้รับมือแรงกระทำได้สูงกว่าบ้านทั่วไป และสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 33%

ทีมวิจัยได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบ และปรับปรุงจุดเสี่ยงในส่วนโครงสร้างกำแพงที่อาจเกิดการเสียหาย ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์ หรือ ไฟไนต์อิลิเมนต์ โดยนำผลการทดสอบแรงดัด แรงกด แรงโยก แรงเหวี่ยงในแนวแกนและแรงเฉื่อย เพื่อหาค่าความต้านทานที่แท้จริงในการรับแรงแผ่นดินไหว แรงลม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

ทั้งนี้ แม้จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว จะไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่จากการสำรวจพบรอยเลื่อนเพิ่มขึ้นบริเวณภาคเหนือและตะวันตก ชี้ถึงโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ได้ในอนาคต และแม้แผ่นดินไหวจะมีศูนย์กลางในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่เดียวกันในทางธรณีวิทยา

ตัวอย่างการสร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหวในสหรัฐ

วิศวกรสหรัฐออกแบบบ้านทนแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ถึง 6.7 ริคเตอร์ ติดโช้คอัพใต้บ้านเทียบเท่าโช้คอัพรถ 20 คันรวมกันเพื่อกระจายแรงสะเทือน ตั้งเป้าลดความเสียหายชีวิตและทรัพย์สิน    บ้านตัวอย่างที่สร้างขึ้นมานี้เป็นบ้านโครงไม้สองชั้น มีเนื้อที่ 167 ตารางเมตร ออกแบบให้สามารถทนแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวรุนแรงได้ โดยติดตั้งเครื่องลดแรงสั่นสะเทือนซึ่งปกติแล้วจะใช้กับอาคารสูงและสะพาน แต่โครงการดังกล่าวนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านโครงไม้เพื่อดูว่าจะช่วยลดผลกระทบ ตัวตัวบ้านได้มากน้อยแค่ไหน ผลที่ได้จะนำมาใช้เป็นออกแบบบ้านรุ่นใหม่ที่สามารถทนรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี ยิ่งขึ้น

ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบโดยนำบ้านตัวอย่างที่สร้างไว้มาตั้งบนเครื่องจำลอง แผ่นดินไหว โดยใช้ข้อมูลแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดในมลรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อสิบกว่าปี ก่อนมาทดสอบ หลังทดสอบกับแรงสั่นสะเทือนรุนแรงดังกล่าวแล้ว ยังมีการทดสอบกับสภาพแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็กในเดือนต่อไปด้วย

โครงการนี้มีชื่อเต็มว่า เครือข่ายวิศวกรรมจำลองแผ่นดินไหว หรือ “นีส์วูด” มีงบประมาณโครงการ 1.2 ล้านดอลลาร์ (48 ล้านบาท) เริ่มดำเนินการทดลองมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เป้าหมายคือ หาแบบบ้านที่สามารถทนรับแรงสั่นสะเทือนได้ เหตุที่เลือกทดสอบกับบ้านโครงสร้างไม้เพราะยังเป็นตลาดที่ยังไม่ได้รับความ สนใจมากนัก ทั้งที่บ้านหลายหลังที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่แผ่นดินไหวเป็นบ้านไม้

 

 

ที่มาของข้อมูล: gotomanager

การพูดถึง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

Back To Top